messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
ดอนมดแดง
อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
insert_drive_file ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ตำบลดอนมดแดงเป็น 1 ใน 4 ตำบลของอำเภอดอนมดแดง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2310 มีชาวบ้านอพยพตามพระวอพระตามาพัก ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เกาะดอนมดแดง และเมื่อมีการย้าย ไปอยู่ที่ดงอู่ผึ้ง (จังหวัดอุบลราชธานี)แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ยังอาศัยตั้งรกรากมาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นเวลามากกว่า 200 ปีแล้ว
ภาพแผนที่หน่วยงาน

รายชื่อหมู่บ้าน
หมุ่ที่ 1 บ้านแคน หมุ่ที่ 2 บ้านดงบังใต้ หมุ่ที่ 3 บ้านกุดกั่ว หมุ่ที่ 4 บ้านโนนยาง หมุ่ที่ 5 บ้านดงบังเหนือ หมุ่ที่ 6 บ้านยาง หมุ่ที่ 7 บ้านวังไฮ หมุ่ที่ 8 บ้านวังพระ หมุ่ที่ 9 บ้านดงบัง หมุ่ที่ 10 บ้านนาคำน้อย หมุ่ที่ 11 บ้านโนนแดง หมุ่ที่ 12 บ้านแคนเหนือ หมุ่ที่ 13 บ้านโนนงาม หมุ่ที่ 14 บ้านหนองสิม
ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 ที่ตั้งอยู่สภาตำบลเก่า หมู่ที่ 9 ตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้มีการย้ายที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดงมาตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากอำเภอดอนมดแดง ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลและอำเภอใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดงและอำเภอดอนมดแดง ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลจิกเทิงและองค์การบริหารส่วนตำบลตาลสุม อำเภอตาลสุม ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสว่างและเทศบาลตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด และองค์การบริหารส่วนตำบลกระโสบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี
ภาพที่ตั้ง

เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมดแดงมีเนื้อที่ รวมประมาณ 97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60,625 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มมีลักษณะเป็นเนินสันริมน้ำ เป็นบางแห่ง มีความลาดเอียงตอนกลางจากทิศเหนือไปทิศตะวันตก สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายรองลงมาคือเป็นดินร่วนปนดินเหนียวการอุ้มน้ำไม่ดี มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ มีลำห้วย และหนองน้ำมาก
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน มีฝนตกพอประมาณ แต่ส่วนใหญ่ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์อากาศจะหนาวเย็นและมีลมกระโซกแรง ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม อากาศร้อนจัดแห้งแล้ง
ลักษณะดิน
ลักษณะดิน ทรัพยากรดินสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย และดินร่วนปนดินเหนียว การอุ้มน้ำไม่ดีมีปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชต่ำ
ลักษณะแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ 1 ลำน้ำ, ลำห้วย จำนวน 11 แห่ง 2 บึงหนอง, และอื่น ๆ จำนวน 13 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ 1 ฝาย จำนวน 8 แห่ง 2 บ่อดิน จำนวน 35 แห่ง 3 บ่อบาดาล จำนวน 22 แห่ง 4 ถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.99 จำนวน 11 แห่ง 5 ถังเก็บน้ำกลาง จำนวน 111 แห่ง 6 ประปาหมู่บ้าน จำนวน 16 แห่ง 7 สระน้ำ จำนวน 5 แห่ง 8 คลองส่งน้ำ (ถ่ายโอนฯ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า) จำนวน 4 แห่ง
ลักษณะป่าไม้
ทรัพยากรป่าไม้ ส่วนมากจะเป็นป่าเต็งรัง พะยอม ยาง ประดู่ สภาพป่าเบญจพรรณขึ้นเป็นหย่อม ตามพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ของราษฎร